วันจันทร์, ตุลาคม 14, 2024

Leveraging Thai Scientific
Invention To Global Commercialization

ชุดทดสอบโคลิฟอร์มในน้ำและน้ำแข็ง

          โคลิฟอร์ม (Coliform bacteria) เป็นกลุ่มแบคทีเรียแกรมลบ สามารถเจริญเติบโตได้ดีในที่ที่มีอากาศ และที่ที่ไม่มีอากาศ มักพบในสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับน้ำ หากพบว่ามีการเจือปนในน้ำดื่มมากเกินไป เป็นตัวบ่งชี้ถึงความไม่สะอาดและไม่ถูกสุขลักษณะของแหล่งน้ำดื่ม ซึ่งโคลิฟอร์มแบคทีเรีย สามารถมีชีวิตอยู่ในน้ำได้นานกว่าจุลินทรีย์อื่นๆ และไม่ทนต่อความร้อน

แบ่งตามแหล่งที่มา จะแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

1. ฟีคัลโคลิฟอร์ม (Fecal coliform) อาศัยอยู่ในลำไส้ของคนและสัตว์เลือดอุ่น ถูกขับถ่ายออกมากับอุจจาระ เมื่อเกิดการระบาดของโรคระบบทางเดินอาหาร จะพบแบคทีเรียชี้แนะชนิดนี้ เช่น อี.โค.ไล (E.coli)

2. นันฟีคัลโคลิฟอร์ม (Non-fecal coliform) อาศัยอยู่ในดินและพืช มีอันตรายน้อยกว่าพวกแรก ใช้เป็นแบคทีเรียชี้แนะถึงความไม่สะอาดของน้ำได้ เช่น เอ. แอโรจิเนส (A. aerogenes)

          การดื่มน้ำหรือบริโภคน้ำแข็งที่ไม่สะอาด เป็นสาเหตุของโรคทางเดินอาหารหรือโรคอาหารเป็นพิษ ผู้ที่บริโภคน้ำเข้าไปจะมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ คือ เป็นไข้ ปวดท้อง และท้องเสีย สามารถเป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ปัจจุบันมีการตรวจพบโคลิฟอร์มในน้ำและน้ำแข็งเกินมาตรฐาน  จึงได้พัฒนาชุดทดสอบโคลิฟอร์มในน้ำแข็งขึ้น เพื่อให้สามารถนำไปตรวจสอบโคลิฟอร์มในน้ำแข็งนอกห้องปฏิบัติการได้ และทราบผลภายใน 24 ชั่วโมง

วิธีการป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย

  • หุงต้มอาหารให้ร้อนระดับการพาสเจอไรซ์ หากเป็นอาหารปรุงสุกแล้วนำมารับประทานต้องอุ่นให้เดือด
  • เก็บอาหารที่ทำให้สุกแล้วที่อุณหภูมิต่ำ หลีกเลี่ยงการเก็บรักษาอาหารช่วงอุณหภูมิที่เป็นอันตราย คือ 4-55 องศาเซลเซียส
  • ควบคุมให้พนักงาน หรือบุคคล ที่สัมผัสกับอาหารให้มีสุขอนามัยที่ดี
  • ป้องกันการเกิดปนเปื้อนข้าม โดยเฉพาะอาหารที่ปรุงสุก อาหารพร้อมรับประทานและอาหารดิบ
  • ผลิตอาหารให้ถูกสุขลักษณะตามหลัก GMP (Good Manufacturing Practise)
  • ใช้ชุดทดสอบโคลิฟอร์มในน้ำและน้ำแข็งสุ่มตรวจเป็นประจำ

ข้อมูลเบื้องต้นของชุดทดสอบโคลิฟอร์มในน้ำและน้ำแข็ง

          ชุดทดสอบโคลิฟอร์มในน้ำและน้ำแข็ง คิดค้นและพัฒนาโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สำหรับใช้ตรวจสอบเบื้องต้นว่า น้ำหรือน้ำแข็งมีการปนเปื้อนแบคทีเรียชนิดโคลิฟอร์ม เกินมาตรฐานหรือไม่ เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคอาหารเป็นพิษโดยมาตรฐานนํ้าดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท กําหนดโดยกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 (พ.ศ.2524) เรื่อง นํ้าบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ตามประกาศ ของกระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย ได้กําหนดให้ ปริมาณแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มต้องมีค่าน้อยกว่า 1.8 MPN/100 ml และต้องไม่พบ E. coli

ชุดทดสอบโคลิฟอร์มในน้ำและน้ำแข็ง 1 ชุด สามารถทดสอบได้ 20 ตัวอย่าง

ประกอบไปด้วย

  • หลอดฉีดยาปราศจากเชื้อ 20 หลอด
  • กระดาษทดสอบ 20 ซอง
  • ถุงพลาสติกปราศจากเชื้อ 1 20 ใบ
  • ถุงพลาสติกปราศจากเชื้อ 2 10 ใบ
  • สำลีและแอลกอฮอล์ 1 ชุด
  • น้ำยาฆ่าเชื้อ 1 ขวด
  • คู่มือการใช้ชุดทดสอบ 1 แผ่น

หมายเหตุ : ใช้ปากกาเขียนรายละเอียดของตัวอย่างน้ำหรือน้ำแข็ง บนแถบขาว บนซองกระดาษทดสอบ

การเก็บรักษา / อายุการใช้งาน

  • เก็บในอุณหภูมิห้อง / 1 ปี
  • ดูวันหมดอายุที่กล่องบรรจุ

ตัวอย่างเป้าหมายของการทดสอบ คือ น้ำดื่ม น้ำใช้ และน้ำแข็ง

จำนวนโคลิฟอร์มต่ำสุดที่ตรวจได้คือ 1 โคโลนี หรือ 1 ตัว ต่อน้ำ 1 ซีซี

หมายเหตุ

  1. กรณีต้องเก็บตัวอย่างน้ำเอง

ใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์ เช็ดบริเวณที่ปล่อยน้ำออก แล้วปล่อยน้ำทิ้งไว้สักครู่ จึงเก็บตัวอย่างน้ำใส่ถุงพลาสติกปราศจากเชื้อ 1 ให้ได้ประมาณ ⅔ ของถุง ปิดปากถุงให้สนิทแล้วทำการทดสอบทันที

  1. กรณีตัวอย่างเป็นน้ำแข็ง

ให้นำถุงพลาสติกปราศจากเชื้อ 2 กลับด้านในของถุงออก (ระวังอย่าให้ด้านในของถุงสัมผัสกับสิ่งอื่น) สอดมือเข้าไปในถุงแล้วหยิบน้ำแข็งที่ต้องการทดสอบใส่ในถุงพลาสติกปราศจากเชื้อ 1 จนเกือบเต็ม ปิดถุงให้สนิท ทิ้งให้น้ำแข็งละลาย แล้วทำการทดสอบทันที

วิธีการทดสอบ

  1. ผู้ตรวจสอบเช็ดมือทั้งสองข้าง และเช็ดปากภาชนะบรรจุตัวอย่างให้ทั่ว ด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์
  1. เขย่าภาชนะบรรจุตัวอย่างแรงๆ อย่างน้อย 25 ครั้ง
  1. ฉีกซองหลอดฉีดยา แล้วดึงหลอดฉีดยาออกจากซอง (ระวังไม่ให้ส่วนล่างของหลอดฉีดยาปนเปื้อนเชื้อจากภายนอก สัมผัสกับมือหรือสิ่งอื่นๆ ในขั้นตอนที่ 3 ถึง 4)
  1. ดูดน้ำ 1 ซีซี แล้วฉีดลงบนกระดาษทดสอบ โดยให้ปลายหลอดฉีดยาแตะถูกกระดาษทดสอบ (ระวังอย่าให้มือแตะถูกกระดาษทดสอบ)
  1. รีดอากาศออกจากซองเบาๆ ปิดซองให้สนิท
  1. เก็บซองกระดาษทดสอบในที่มือ หรือห่อด้วยกระดาษทึบแสง ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 24 ชั่วโมง

การประเมินผล

ถ้าพบจุดแดงบนกระดาษทดสอบ แสดงว่าน้ำหรือน้ำแข็งมีการปนเปื้อนของเชื้อโคลิฟอร์มเกินมาตรฐาน (จำนวนจุดแดงบนกระดาษทดสอบ จะเท่ากับจำนวนโคลิฟอร์มในน้ำหรือน้ำแข็ง 1 ซีซี)

ข้อควรระวัง

  1. หากทำน้ำยาฆ่าเชื้อหกเปื้อนมือ ให้ล้างออกด้วยน้ำสะอาด
  2. อย่าวางชุดทดสอบไว้ใกล้มือเด็ก

เมื่อใช้ชุดทดสอบเสร็จ ให้เทน้ำยาฆ่าเชื้อลงในซองกระทดสอบประมาณ ⅓ ของซอง แล้วปิดซองให้สนิท เก็บไว้ประมาณ 30 นาทีแล้วทิ้งซอง

ชุดทดสอบที่เกี่ยวข้อง

รวมชุดทดสอบจุลินทรีย์ในน้ำ อาหาร ภาชนะสัมผัสอาหาร และมือ

ชุดตรวจสอบซัลโมเนลล่าในน้ำและน้ำแข็ง

ชุดตรวจสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรียในน้ำและน้ำแข็ง(อ11)

ชุดทดสอบความสะอาดของภาชนะสัมผัสอาหารและมือ

ชุดทดสอบปริมาณบักเตรีทั้งหมดในอาหาร

ชุดทดสอบโคลิฟอร์มในอาหาร

ชุดตรวจสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร, ภาชนะสัมผัสอาหารและมือ (SI-Medium,Si-2)

ชุดทดสอบยีสต์และเชื้อราในอาหารและเครื่องดื่ม

ชุดตรวจสอบสแตฟฟีโลคอคคัส ออเรียสในอาหาร, ภาชนะสัมผัสอาหารและมือ (SA-medium)

ชุดตรวจสอบซัลโมเนลล่าในอาหาร, ภาชนะสัมผัสอาหารและมือ

ชุดตรวจสอบวิบริโอ สปีชีส์ในอาหาร, ภาชนะสัมผัสอาหารและมือ(V-medium)

แหล่งที่มาของข้อมูล

https://multimedia.anamai.moph.go.th/infographics/coliform-bacteria-in-drinking-water/

https://healthserv.net/โคลิฟอร์มแบคทีเรีย-996

ไฟล์ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ขอใบเสนอราคา สั่งซื้อสินค้า

บริษัท ไฮเออร์ เอ็นท์เตอร์ไพรส์ จำกัด
131 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย อาคารกลุ่มนวัตกรรม 1
ต. คลองหลวง อ.คลองหลวง จ. ปทุมธานี 12120
โทร. 081-847-6768, 02-191-3928 แฟ็กซ์. 02-191-3929
คุณโทณิวัฒน์ 085-811-4779 , คุณนารีรัตน์ 085-814-9653
IDline : @alltestkit

>> ขอใบเสนอราคาแบบออนไลน์ คลิก !! <<

Related Articles

Latest Articles

PRODUCTS

Contact Us