ผงบอแรกซ์ เป็นสารอนินทรีย์สังเคราะห์ที่มีชื่อทางเคมีว่าโซเดียมบอเรต (Sodium borate) มีลักษณะเป็นผงสีขาวขุ่น คล้ายแป้ง หรืออาจมีลักษณะเป็นเม็ดกลมขุ่น ขนาดเล็กกว่าเม็ดสาคู มีคุณสมบัติละลายน้ำได้ดี มีรสชาติหวานเล็กน้อย
ในทางอุตสาหกรรมใช้ผงบอแรกซ์ในการผลิตแก้ว ภาชนะเคลือบ ชุบโลหะ เพื่อทำให้วัสดุทนทานความร้อนได้ดีขึ้น หรือใช้ในการผสมสูตรผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าเชื้อราเพื่อการดูแลรักษาเนื้อไม้ และใช้เป็นตัวประสานเชื่อมทอง เป็นต้น
ผลกระทบต่อสุขภาพ
-เป็นพิษต่อไต
-ทำ ให้เกิดไตวายได้
-สะสมในสมอง
-ทำให้ทางเดินอาหารเกิดการระคายเคือง
-ถ้าเป็นผู้ใหญ่ได้รับสารบอร์แรกซ์ 15 กรัม หรือเด็กได้รับ 5 กรัม จะทำให้อาเจียนเป็นเลือดและอาจตายได้
กฎหมายกำหนด
ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 151 (พ.ศ.2536) กำหนดให้บอแรกซ์เป็นสารที่ห้ามใช้ในอาหาร ผู้ฝ่าฝืนมีโทษให้ปรับไม่เกิน 20,000 บาท
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2544 กำหนดบอแรกซ์เป็นสินค้าควบคุมฉลากต้องมีข้อความ “บอแรกซ์อันตราย อาจทำให้ไตวาย ห้ามใช้ในอาหาร” ถ้าไม่มีฉลากหรือมีฉลากแต่การแสดงฉลากไม่ถูกต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
การดูแลคุณภาพอาหารด้วยตนเอง
การบริโภคอาหารที่มีสารบอแรกซ์เจือปนจะทำ ให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขจึงห้ามนำสารบอแรกซ์มาเจือปนในอาหาร แต่ปัจจุบันยังตรวจพบสารบอแรกซ์ในอาหารหลายชนิด ดังนั้น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงได้พัฒนาชุดทดสอบบอแรกซ์ในอาหารขึ้น เพื่อให้สามารถนำไปตรวจสอบสารบอแรกซ์ในอาหารนอกห้องปฏิบัติการได้ ทราบผลได้รวดเร็วและมีความแม่นยำสูง
ตัวอย่างเป้าหมาย
เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ (หมูบด ปลาบด ทอดมัน ลูกชิ้น หมูสด เนื้อสด ไส้กรอก ฯลฯ) ผลไม้ดอง ผลไม้แช่อิ่ม ผลไม้แห้ง ขนมหวานที่ทำจากแป้ง (ทับทิมกรอบ ลอดช่อง วุ้น ซาหริ่ม ฯลฯ) บะหมี่ แผ่นเกี๊ยว
ประโยชน์ของชุดทดสอบ
ใช้ตรวจสอบบอร์แรกซ์ในอาหารและสารเคมีที่ใช้ผสมอาหาร ซึ่งจะทราบผลได้ทันที เพื่อเป็นแนวทางเฝ้าระวังความปลอดภัยของอาหาร
จำนวนตัวอย่างที่ตรวจได้/ชุด
50 ตัวอย่าง
ความไวของชุดทดสอบ
ระดับต่ำสุดที่ตรวจได้ 100 มก./กก. (ในอาหาร)
ระดับต่ำสุดที่ตรวจได้ 50 มก./กก. (ในสารเคมี)
อุปกรณ์ชุดทดสอบ
ก.อุปกรณ์ในชุดทดสอบ
-ถ้วยยาพลาสติก 1 ใบ
-หลอดหยดยา 1 อัน
-ช้อนพลาสติก 1 คัน
-กระดาษขมิ้น (50 แผ่น) 1 ขวด
-น้ำยาทดสอบบอร์แรกซ์ 1 ขวด
-คู่มือชุดทดสอบ 1 แผ่น
ข.อุปกรณ์ประกอบการตรวจ
-เขียงพลาสติก 1 อัน
-มีด 1 เล่ม
-จานกระเบื้องหรือแผ่นกระจก 1 ชิ้น
วิธีการทดสอบบอร์แรกซ์ในอาหาร
1.สับตัวอย่างให้เป็นชิ้นเล็กๆ เท่าหัวไม้ขีดไฟ
2.ตักตัวอย่าง 1 ช้อน ใส่ในถ้วยยา
3.เติมน้ำยาทดสอบบอแรกซ์จนท่วมตัวอย่าง กวนให้เข้ากัน
4.จุ่มกระดาษขมิ้นให้เปียกครึ่งแผ่น
5.วางกระดาษขมิ้นบนจานกระเบื้อง หรือแผ่นกระจก แล้วนำไปวางกลางแดดเป็นเวลา 10 นาที
(อย่าวางกระดาษขมิ้นชิดกัน) หรือใช้ไดร์เป่าผมเป่า 1 นาที
วิธีการทดสอบบอร์แรกซ์ในสารเคมี
1.ตักสารเคมีปริมาณเล็กน้อยใส่ในถ้วยยา
2.เติมน้ำยาทดสอบบอร์แรกซ์ จำ นวน 5 มิลลิลิตร
3.กวนให้สารเคมีละลาย
4.จุ่มกระดาษขมิ้นในสารละลายให้เปียกครึ่งแผ่น
5.วางแผ่นกระดาษขมิ้นลงบนแผ่นกระจกหรือจานกระเบื้อง แล้วนำไปวางกลางแดดเป็นเวลา 10 นาที หรือใช้ไดร์เป่าผมเป่า 1 นาที
การประเมินผล
ถ้ากระดาษขมิ้นมีสีส้มจนถึงสีแดง แสดงว่า ตัวอย่างมีสารบอร์แรกซ์เจือปนอยู่
ถ้ากระดาษขมิ้นมีสีอื่นที่ไม่ใช่สีส้ม หรือแดง แสดงว่าตัวอย่างไม่มีสารบอร์แรกซ์
การปฏิบัติเมื่อใช้ชุดทดสอบบอร์แรกซ์เสร็จแล้ว
เขียง มีด ถ้วยพลาสติก ช้อนพลาสติก แผ่นกระจก ให้ล้างด้วยผงซักฟอก และน้ำ ให้สะอาด ผึ่งให้แห้งก่อนที่จะนำไปเก็บในกล่องชุดทดสอบ
กระดาษขมิ้น ควรปิดฝาขวดทันทีเมื่อหยิบกระดาษขมิ้นออกมาแล้ว
น้ำยาทดสอบบอร์แรกซ์ ปิดจุกขวดให้แน่นก่อนเก็บ
หลอดหยอดยา ใช้หลอดหยอดยาดูดน้ำ สะอาดแล้วบีบทิ้ง ทำ ซ้ำ 3-4 ครั้ง ทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วเก็บที่เดิม
การเก็บรักษาชุดทดสอบ/อายุการใช้งาน
-เก็บที่อุณภูมิห้อง / 2 ปี
-ดูวันหมดอายุที่กล่องบรรจุ
ข้อควรระวัง
1. ถ้าตัวอย่างที่ตรวจมีสภาพเป็นด่างสูง (ข้าวต้มน้ำวุ้น, ปลาหมึกแห้งแช่ด่าง) อาจทำ ให้ เกิดผลบวกลวงได้ ต้องใส่น้ำยาทดสอบบอร์แรกซ์เพิ่มขึ้นจนแน่ใจว่าตัวอย่างหมดความ เป็นด่างแล้ว หรือ ทดสอบด้วยกระดาษลิตมัส จึงจะทดสอบด้วยกระดาษขมิ้นได้
2. หากใช้ที่เป่าผมในการทำกระดาษขมิ้นให้แห้ง ไม่ควรใช้ความร้อนสูง หรือเป่าใกล้กับกระดาษขมิ้นมากเกินไป เนื่องจากจะทำให้กระดาษเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลได้ ทำให้อ่านผลได้ไม่ชัดเจน และควรอ่านผลทันทีเมื่อกระดาษแห้ง เนื่องจากถ้าทิ้งไว้นานจะทำให้กระดาษมีสีเข้มเกินจริง
3. ตัวอย่างบางชนิดอาจจะมีไขมันมาก เมื่อจุ่มกระดาษขมิ้นในตัวอย่าง ไขมันจะเคลือบที่ผิวของกระดาษขมิ้น ดังนั้นอาจมีเพียงบางส่วนที่เปลี่ยนสี ทำให้อ่านผลได้ไม่ชัดเจน จึงควรกำจัดไขมันออกจากกระดาษขมิ้น โดยการปาดกับปากถ้วยยาให้หมดก่อนนำมาทำ ให้แห้ง
4. ต้องทำความสะอาดแผ่นรองกระดาษขมิ้นทุกครั้งก่อนนำ ไปใช้ตรวจตัวอย่างชุดต่อไป และไม่ควรวางแผ่นกระดาษขมิ้นในตำแหน่งที่เคยวางแผ่นกระดาษขมิ้นที่ตรวจตัวอย่างอื่นมาก่อนแล้ว และยังไม่ได้ทำความสะอาด เนื่องจากจะทำให้เกิดการปนเปื้อน และอ่านผลผิดพลาดได้ และควรทำเครื่องหมายที่แผ่นรองทุกครั้งที่วางกระดาษทดสอบ เพื่อป้องกันการสับสน
5. สามารถใช้ชุดทดสอบตรวจได้ทั้งอาหารสด และอาหารที่ทำให้สุกแล้ว
6. น้ำยาทดสอบบอร์แรกซ์ มีสภาพเป็นกรด หากหกเปื้อนมือหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายให้ล้างด้วยน้ำ และฟอกสบู่ให้สะอาด
7. อย่าวางชุดทดสอบไว้ใกล้มือเด็ก แนวทางปฏิบัติเมื่อตรวจพบสารบอร์แรกซ์ในอาหาร แนะนำผู้ผลิตอาหารให้เลิกใช้สารบอร์แรกซ์ เนื่องจากผิดกฎหมายและเป็นอันตราย ต่อสุขภาพของผู้บริโภคอาหารนั้น ถ้าพบบ่อยครั้ง ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเก็บตัวอย่างส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการต่อไป