วันจันทร์, มกราคม 20, 2025

Leveraging Thai Scientific
Invention To Global Commercialization

ชุดตรวจสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร, ภาชนะสัมผัสอาหารและมือ (SI-Medium,Si-2)

20100902002013.jpg
การเปลี่ยนสีของชุดตรวจสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรีย (SI-Medium,Si-2)

เชื้อโคลิฟอร์ม (Coliform) แบคทีเรียที่พบในดิน น้ำ และลำไส้ของสัตว์ ถูกนำไปใช้เพื่อบ่งชี้สภาพความไม่สะอาดในกระบวนการผลิตอาหารและเครื่องดื่มมานานกว่าศตวรรษแล้ว รวมถึงเป็นเชื้อที่มีการใช้ผลทดสอบคุณภาพน้ำและผลิตภัณฑ์จากนม ตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษที่ 1900 ณ วันนี้ การนับจำนวนเชื้อโคลิฟอร์ม (Coliform) มักจะใช้เป็นตัวบ่งชี้สุขลักษณะในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม

คำว่า โคลิฟอร์ม ไม่ใช่แบ่งตามอนุกรมวิธาน แต่เชื้อโคลิฟอร์มมีคุณลักษณะที่เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปร่างท่อน ไม่สร้างสปอร์  มีความสามารถในการหมักน้ำตาลแลคโตสเพื่อผลิตกรดและหรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ตัวอย่างสกุลของแบคทีเรียที่จัดเป็นเชื้อโคลิฟอร์ม ได้แก่ เชื้อซิโทรแบคเตอร์ (Citrobacter) เชื้อเอนเทอโรแบคเตอร์ (Enterobacter) เชื้อเอสเชอริเชีย (Escherichia) และ เชื้อเคลบเซลลา (Klebsiella)

เชื้อโคลิฟอร์มที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด คือ เอสเชอริเชีย โคไล (Escherichia coli, E. coli) เป็นเชื้อที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของสัตว์เลือดอุ่น แต่ก็สามารถพบได้ในสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติและแพร่กระจายไปยังสถานที่ผลิตอาหารตลอดจนแหล่งน้ำดื่ม เชื้ออีโคไล (E. coli) ส่วนมากจะไม่มีอันตราย แต่บางสายพันธุ์อาจทำให้เกิดอาหารเป็นพิษและโรคที่รุนแรงได้

การทดสอบหา เชื้อโคลิฟอร์ม จะทำให้มองเห็นจุลินทรีย์ต่างๆ ที่อยู่ในส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป และสภาพแวดล้อมของการผลิตในภาพรวมได้กว้างขึ้นแทนที่จะตรวจหาชนิดของเชื้อที่เฉพาะเจาะจง เพราะฉะนั้น เชื้อโคลิฟอร์มจึงเป็นเหมือน “จุลินทรีย์บ่งชี้” และการทดสอบหาว่ามีอยู่ในภาพรวมแทนที่จะหาสกุลหรือชนิดใดโดยเฉพาะจะสามารถบ่งชี้ถึงสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะซึ่งอาจมีจุลินทรีย์ก่อโรคอยู่ หากมีการควบคุมบริเวณที่มีการเก็บตัวอย่าง จำนวนของจุลินทรีย์บ่งชี้เหล่านี้จะถูกจำกัดให้มีจำนวนที่น้อยลง

เป็นที่น่าสังเกตว่าเชื้อโคลิฟอร์มบางชนิดมีประวัติที่อ้างอิงว่าเป็นเชื้อโคลิฟอร์ม (coliform) ในอุจจาระ แต่มีการวิจัยที่แสดงถึงคำศัพท์ที่เป็นปัจจุบันและเหมาะสมกว่า ได้แก่ เชื้อโคลิฟอร์ม (coliform) ที่ทนต่ออุณหภูมิ เพราะเชื้อมีแนวโน้มที่จะเจริญเติบโตและหมักน้ำตาลแลคโตสได้ในอุณหภูมิที่สูงขึ้น แม้ว่าการทดสอบหาเชื้อโคลิฟอร์ม (coliform) ที่ทนต่ออุณหภูมิเป็นการทดสอบในครั้งเดียวเพื่อคาดประมาณจำนวนของ เชื้ออีโคไล (E. coli) ในตัวอย่าง แต่เชื้ออีโคไล (E. coli) ที่ก่อโรคบางชนิด (โดยเฉพาะ เชื้ออีโคไล O157:H7 (E. coliO157:H7) ไม่สามารถเติบโตได้ดีในอุณหภูมิที่สูงขึ้น ดังนั้นจึงไม่สามารถใช้ผลการทดสอบได้

อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เพราะอาหารให้พลังงานและช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอต่างๆ ในร่างกาย แต่การเลือกรับประทานอาหารนอกจากจะมุ่งเน้นให้ครบถ้วนตามหลักโภชนาการแล้วยังต้องคำนึงถึงความสะอาดปลอดภัยของอาหารด้วย หากรับประทานอาหารที่มีเชื้อโรคหรือสารปนเปื้อน ย่อมส่งผลให้ผู้บริโภคเจ็บป่วยได้

โดยเหตุนี้กรมอนามัยจึงได้คิดและพัฒนาชุดทดสอบขึ้นมา โดยมุ่งเน้นให้ง่ายต่อการใช้งานและอ่านผลสะดวกรวดเร็ว สามารถตรวจสอบได้ด้วยตนเอง เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านสุขอนามัยของสังคมส่วนรวม

หลักการของชุดทดสอบ
          ชุดตรวจสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร, ภาชนะสัมผัสอาหารและมือ (Si-Medium,Si-2) ใช้ตรวจสอบการปนเปื้อนของเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย ในอาหาร, ภาชนะสัมผัสอาหาร และมือ ใช้ง่ายและสะดวกในการปฏิบัติโดยสังเกตจากการเปลี่ยนสีของอาหารตรวจเชื้อ จากสีม่วงใส เป็นสีม่วงอมเหลืองและสีเหลือง มีความขุ่นและแก๊สปุดเมื่อเขย่าเบาๆ

จำนวนตัวอย่างชุดทดสอบ
          – ชุดตรวจสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร, ภาชนะสัมผัสอาหารและมือ (Si-Medium,Si-2) ขนาด 20 ตัวอย่าง/ชุด บรรจุในกล่องพลาสติกพร้อมอุปกรณ์ประกอบการทดสอบ
          – ขนาด Refill 50 ขวด (เฉพาะน้ำยาตรวจเชื้อ)

อายุและการเก็บรักษาชุดทดสอบ
          – เก็บในตู้เย็นมีอายุการใช้งาน 6 เดือน
          – เก็บในอุณหภูมิห้องมีอายุการใช้งาน 2 เดือน

ขั้นตอนการเตรียมอุปกรณ์สำหรับการตรวจเชื้อโคลิฟอร์มขั้นต้น (SI-2)

1.เตรียมอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการตรวจ ดังนี้

-น้ำยาตรวจเชื้อโคลิฟอร์มขั้นต้น (SI-2)

-ไม้พันสำลีที่ฆ่าเชื้อแล้ว

-สำลีก้อน

-กรรไกร

-คัตเตอร์

-แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อโรค

2.ใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อเช็ดทำความสะอาดพื้นที่ถาดที่ใช้วางอุปกรณ์

การตรวจอาหาร

อาหารแข็ง ใช้กรรไกรที่ฆ่าเชื้อแล้วตัดอาหารให้มีชนาดเล็กลงและใช้ช้อนที่ฆ่าเชื้อแล้วตักอาหารลงในขวดน้ำยาประมาณ 1 กรัม ตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง 17-24 ชั่วโมง อ่านและรายงานผล

อาหารเหลว ใช้ช้อนชาที่ฆ่าเชื้อแล้วตักอาหาร 1 มิลลิลิตรใส่ลงในขวดน้ำยา ตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง 17-24 ชั่วโมง อ่านและรายงานผล

ควรงดเก็บอาหารที่มีรสเปรี้ยว เช่น ยำต่างๆ แกงส้ม มะเขือเทศ

วิธีการสวอป

มือผู้สัมผัสอาหาร : หงายฝ่ามือที่ถนัดขึ้นสวอปจากปลายนิ้วถึงข้อที่ 2 เฉพาะหัวแม่มือให้สวอปถึงข้อที่ 1

แก้วน้ำ : สวอปครึ่งนิ้วจากขอบบนทั้งภายในและภายนอกจำนวน 5 ใบ / น้ำยา 1 ขวด / ไม้พันสำลี 1 ก้าน

ช้อนส้อม : สวอปที่ตัวช้อนส้อมในส่วนที่สัมผัสอาหารทั้งด้านหน้าและด้านหลังจำนวน 5 คู่ / น้ำยา 1 ขวด / ไม้พันสำลี 1 ก้าน

จาน ชาม ถ้วย : สวอปพื้นที่สัมผัสอาหารขนาด 2*2 ตารางนิ้ว จำนวน 5 ชิ้น / น้ำยา 1 ขวด / ไม้พันสำลี 1 ก้าน

เขียง : สวอปด้านที่ใช้งานขนาด 2*2 ตารางนิ้วจำนวน 1 อัน / น้ำยา 1 ขวด / ไม้พันสำลี 1 ก้าน

การอ่านและรายงานผล

ขวดที่ 1 น้ำยาตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียสีม่วงใสปราศจากเชื้อ

ขวดที่ 2 น้ำยาตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียหลังใส่ตัวอย่างทดสอบและบ่มไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 17-24 ชั่วโมง ให้ผลลบ (-) น้ำยายังคงเป็นสีม่วงใสไม่เปลี่ยนแปลง แสดงว่าตัวอย่างไม่มีการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย

ขวดที่ 3 น้ำยาตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียหลังใส่ตัวอย่างทดสอบและบ่มไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 17-24 ชั่วโมง ให้ผลบวก (+) น้ำยาเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีม่วงปนเหลือง มีความขุ่นและแก๊สปุดขึ้นเมื่อเขย่าเบาๆ แสดงว่าตัวอย่างมีการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย

ขวดที่ 4 น้ำยาตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียหลังใส่ตัวอย่างทดสอบและบ่มไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 17-24 ชั่วโมง ให้ผลบวก (++) น้ำยาเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีเหลือง มีความขุ่นและแก๊สปุดขึ้นเมื่อเขย่าเบาๆ แสดงว่าตัวอย่างมีการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย

ขั้นตอนการตรวจหาเชื้อโคลิฟอร์มขั้นต้น (SI-2) การตรวจภาชนะอุปกรณ์และมือ

1.จุ่มไม้พันสำลีในน้ำยา SI-2 บิดพอหมาด (ไม้พันสำลี 1 อัน/ น้ำยา 1 ขวด / ภาชนะอุปกรณ์ 5 ชิ้น ต่อประเภทภาชนะ)

2.ป้ายไม้พันสำลี บนผิวภาชนะอุปกรณ์หรือบริเวณที่จะตรวจโดยหมุนซ้ำไปมา

3.จุ่มไม้พันสำลีลงในขวดน้ำยา หมุนไปมาหลายๆครั้ง บิดพอหมาด นำไปป้ายภาชนะอุปกรณ์ทีละชิ้น ทำซ้ำจนครบ 5 ชิ้น

4.หักไม้พันสำลี โดยดึงไม้ให้พ้นปากขวดประมาณครึ่งหนึ่งแล้วหักไม้กับปากขวด และปิดฝาทันที ตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง 17-24 ชั่วโมง ก่อนอ่านและรายงานผล

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ขอใบเสนอราคา สั่งซื้อสินค้า

บริษัท ไฮเออร์ เอ็นท์เตอร์ไพรส์ จำกัด
131 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย อาคารกลุ่มนวัตกรรม 1
ต. คลองหลวง อ.คลองหลวง จ. ปทุมธานี 12120
โทร. 081-847-6768, 02-191-3928 แฟ็กซ์. 02-191-3929
คุณโทณิวัฒน์ 085-811-4779 , คุณนารีรัตน์ 085-814-9653
IDline : @alltestkit

>> ขอใบเสนอราคาแบบออนไลน์ คลิก !! <<

Related Articles

Latest Articles

PRODUCTS

Contact Us