สารพิษที่ตกค้างในผักและผลไม้เมื่อบริโภคเข้าสู่ร่างกายย่อมมีผลกระทบกับสุขภาพร่างกาย ก่อให้เกิดอาการปากแห้ง คอแห้ง ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศรีษะ ปวดศรีษะ เมื่อยเนื้อเมื่อยตัว อ่อนเปลี้ย เพลียแรง กระสับกระส่ายนอนไม่หลับ ฯลฯ หากรุนแรงสารพิษมีผลทำลายเซลล์เนื้อเยื่อและอวัยวะในร่างกาย ก่อให้เกิดอาการเจ็บไข้และเป็นโรคต่างๆได้ เช่น ภาวะกรดไหลย้อน โรคกระเพาะ ถุงน้ำดีอักเสบ โรคตับ รีดสีดวงทวาร ลำไส้อักเสบ แผลในลำไส้ รวมถึงการเป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็งได้ เช่น มะเร็งถุงน้ำดี มะเร็งตับ มะเร็งกระเพาะ มะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ รวมถึงความผิดปกติหลอดเลือดทางสมอง หลอดเลือดหัวใจ เกิดการตีบตัน และแตกของหลอดเลือดในสมองได้ นอกจากนี้เกิดความเสื่อมของเซลล์เนื้อเยื่อของอวัยวะได้ เกิดความชราภาพของอวัยวะและส่วนต่างๆของร่างกายได้ เช่น สมองฝ่อ หรือสมองเสื่อมเร็วขึ้น กระดูกเสื่อม กระดูกบางและกระดูกพรุน สภาวะฮอร์โมนในร่างกายผันผวน
ข้อมูลเบื้องต้นของชุดทดสอบยาฆ่าแมลงในผักและผลไม้
ชุดทดสอบยาฆ่าแมลงในผักและผลไม้ ผลิตและคิดค้นโดย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สำหรับใช้ตรวจเบื้องต้น เพื่อตรวจหา ยาฆ่าแมลงตกค้าง กลุ่มเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส (กลุ่มยาฆ่าแมลงออร์กาโนฟอตเฟสและคาร์บาเมท) ในผักและผลไม้ ให้ผลถูกต้องร้อยละ 85% (ผลบวกกลวง 15%) ปริมาณต่ำสุดที่ชุดทดสอบตรวจหาได้คือร้อยละ 15 ซึ่งไม่ปลอดภัย
ชุดทดสอบยาฆ่าแมลงในผักและผลไม้ 1 ชุดสามารถตรวจได้ 10 ตัวอย่าง
ประกอบไปด้วย
- น้ำยาสกัด 1 ขวด
- น้ำกลั่น 1 ขวด
- น้ำยาทดสอบ 1 1 ขวด
- น้ำยาทดสอบ 2 1 ขวด
- น้ำยาทดสอบ 3 1 ขวด
- 1. ขวดพลาสติก (ขวดสกัด) 10 ขวด
- 2. หลอดทดสอบชนิดแก้ว 10 อัน
- 3. หลอดทดสอบชนิดพลาสติก 11 อัน
- 4. หลอดหยดขนาด 3 ซีซี 3 อัน
- 5. หลอดหยดขนาดเล็ก 1 อัน
- 6. ถุงมือ 2 คู่
หมายเหตุ : ชุดทดสอบนี้เป็นชุดทดสอบเบื้องต้น กรณีที่ต้องการตรวจผลวิเคราะห์สามารถส่งตรวจได้ที่สำนักงานคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร
การเก็บรักษา / อายุการใช้งาน
- เก็บในตู้เย็น 2 – 8 องศา / 1 ปี
เป้าหมายของการทดสอบคือผักและผลไม้
ขั้นตอนการทดสอบ
- หั่นผักหรือผลไม้ที่จะตรวจให้เป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ลงในขวดสกัดตัวอย่าง ให้ได้ประมาณ 3 ขีดของขวด
- เติมน้ำยาสกัด 6 ซีซี ปิดฝาขวดให้แน่น เขย่าแรงๆ เป็นระยะเวลา 2 นาที
- ค่อย ๆ เปิดฝาของขวด แล้วรินน้ำยาสกัดลงในหลอดแก้วจนหมด
- จุ่มหลอดแก้วลงในแก้วน้ำที่มีน้ำอุ่นอยู่ประมาณครึ่งแก้ว เพื่อระเหยน้ำยาสกัด
- ขณะรอน้ำยาสกัดระเหย เติมน้ำกลั่น 1 ซีซี ลงในขวดน้ำยาทดสอบ 1 ตั้งทิ้งไว้เป็นระยะเวลาหนึ่ง
- แกว่งหลอดที่จุ่มอยู่ในแก้วน้ำอุ่นจนน้ำยาสกัดเหลือประมาณ 1 หยด ยกออกและหมุนหลอดจนแห้ง
- เติมน้ำยาทดสอบ 2 ลงในหลอดแก้ว ข้อ 6 และหลอดควบคุม หลอดละ 3 ซีซี
- เติมน้ำยาทดสอบ 1 ที่เตรียมไว้ลงในหลอดแก้ว และหลอดควบคุม หลอดละ 2 หยด เขย่าและตั้งทิ้งไว้
- รินน้ำยาจากหลอดแก้ว ลงในหลอดพลาสติก (หลอดตัวอย่าง)
- เติมน้ำยาทดสอบ 3 ลงในหลอดตัวอย่างและหลอดควบคุม หลอดละ 2 หยด เขย่าให้เข้ากัน จับเวลา สังเกตุสีที่เกิดขึ้นที่เวลา 5 นาที
การอ่านผล
ดูอัตราการเปลี่ยนสีระหว่างหลอดควบคุม ถ้าหลอดตัวอย่างเปลี่ยนสีช้ากว่าหลอดควบคุม แสดงว่ามียาฆ่าแมลง
การประเมินผล
สังเกตลักษณะของน้ำยาในขวดทดสอบ
- ปลอดภัย มีสีส้มเข้มเหมือนหลอดควบคุม
- ไม่ปลอดภัย (ถูกยับยั้ง 15%) มีสีส้มปนชมพู
- ไม่ปลอดภัยมาก มีสีชมพู
ข้อควรระวัง
- หลังจากใช้ชุดทดสอบควรทำความสะอาดมือด้วยสบู่ หรือน้ำยาทำความสะอาด
- ควรเก็บชุดทดสอบให้ไกลมือเด็ก
หมายเหตุ : วิธีทดสอบเป็นข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น ผู้ใช้งานควรอ่านรายละเอียดคู่มือการใช้ชุดทดสอบ ที่แนบไปพร้อมกับชุดทดสอบอีกครั้ง